รู้หรือไม่… แมวเดินกะเผลก อาจเป็นสัญญานของ “โรคหวัดแมว” ได้

หากอยู่ดี ๆ แมวเดินกะเผลก ดูเหมือนจะเจ็บขา โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุ หรือตกจากที่สูง ร่วมกับอาการเซื่องซึม มีไข้ หรือจาม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Feline Calicivirus ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดแมวได้

โรคหวัดแมว หรือไข้หวัดแมว (cat flu) ทำให้ แมวเดินกะเผลก ได้ด้วยหรือ ?

ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากมนุษย์อย่างเราจะมีแนวโน้มป่วยเป็นไข้หวัดได้แล้ว แมวที่เรารักก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้แมวป่วย ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จำเพาะเจาะจงกับแมว นอกจากนี้ น้องแมวก็สามารถเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. ได้ด้วย

ที่น่าสนใจ คือ เมื่อแมวติดเชื้อ Feline Calicivirus โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็ก จะเกิดอาการเฉียบพลันที่เรียกว่า Feline limping syndrome ที่ทำให้ลูกแมวแสดงอาการผิดปกติอย่างหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจน คือเดินกะเผลก และยังพบอาการลักษณะนี้ในแมวโต และแมวสูงวัยด้วย

แมวเดินกะเผลก, ไข้หวัดแมว, หายเองได้

อาการของโรคไข้หวัดแมว จากการติดเชื้อ Feline Calicivirus

ลูกแมวที่ติดเชื้อไวรัส Feline Calicivirus จะแสดงอาการเจ็บขาแบบเฉียบพลัน และเดินกะเผลก อาจจะพบ หรือไม่พบ ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ภายหลังจากนั้น 2 – 3 วัน แมวจะแสดงอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดตามข้อเท้าหน้าหรือหลัง มีไข้ ซึม และเบื่ออาหาร เป็นต้น

เมื่อลูกแมวป่วยด้วยเชื้อไวรัวชนิดนี้ยังทำให้เกิดอาการบวมอย่างเห็นได้ชัดจากภายนอก ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะข้ออักเสบ จึงส่งผลให้แมวไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ

ในลูกแมวจะแสดงอาการขาเจ็บแบบเฉียบพลัน เดินกระเผลก โดยที่พบหรือไม่พบอาการระบบทางเดินหายใจร่วมด้วยก็ได้ และภายหลังจากนั้น 2-3 วัน อาการอาจจะตามมาด้วยการเจ็บปวดบริเวณข้อ เช่น ข้อเท้าหน้าหรือเท้าหลัง มีไข้ ซึม และเบื่ออาหาร การติดเชื้อยังสามารถทำให้เกิดการอักเสบบริเวณข้อ เกิดอาการบวมอย่างเห็นได้ชัดจากภายนอก ทำให้แมวไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ

เชื้อ Feline Calicivirus (FCV) เป็นเชื้อไวรัสชนิด RNA virus พบการติดเชื้อได้บ่อยในแมว ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดอาการระบบทางเดินหายใจเช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม และอาจพบการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างร่วมด้วยได้ สำหรับอาการที่เด่นชัดที่พบคือ แผลหลุมบนลิ้น ช่องปากอักเสบ หรือมีกลุ่มอาการ limping syndrome เดินกระเผลก

แมวเดินกะเผลก, ไข้หวัดแมว, หายเองได้

การติดต่อของโรคไข้หวัดแมว

การติดต่อของไวรัสชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในแมวทั้งจากทางตรงและทางอ้อม การติดเชื้อทางตรง เช่น จากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของแมวที่ติดเชื้อ ส่วนทางอ้อมสามารถรับเชื้อผ่านทางละอองฝอยในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

เชื้อ Feline Calicivirus มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จะมีความก่อโรคที่รุนแรงมีชื่อเรียกว่า Virulent systemic feline Calicivirus (FSFCV) ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง และทำให้แมวเสียชีวิตได้

แมวป่วยในกลุ่มอาการ Feline limping syndrome หลังจากที่แมวแสดงอาการขาเจ็บแล้วในช่วง 48 – 72 ชั่วโมง ในบางรายอาจจะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายเองได้ แต่ถ้าอาการยังคงอยู่ และรุนแรงขึ้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ให้ยาประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาลดปวด หรือลดอักเสบ หรือรักษาร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อ Feline Calicivirus

การป้องกันการติดเชื้อ Feline Calicivirus สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีน แนะนำควรเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 – 8 สัปดาห์ และกระตุ้นซ้ำทุก 3 – 4 สัปดาห์ จนกระทั่งอายุครบ 16 สัปดาห์ จากนั้นฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และลดอาการความรุนแรงของโรคในแมวได้

บทความโดย
สพ.ญ.ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์
สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมว PURRfect Cat Hospital


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – โรคหวัดแมว หรือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Cat flu)